“เรา ยังตอบไม่ได้ว่าจะให้ปรับราคาหรือไม่ จะไปหารือกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงก่อน แต่ยอมรับว่าต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนรถตู้ และรถมอเตอร์ไซค์ ที่วิ่งให้บริการเมื่อได้ข้อสรุปจะนำเสนอให้ รมว.คมนาคมพิจารณาอีกครั้ง”
ส่วน กรณีผู้ประกอบการเกรงว่าการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะเข้ามาซ้ำเติมการแข่งขันกับรถเอกชนนั้น ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการนำเข้ารถเมล์มาเพิ่ม เพราะเป็นการนำรถใหม่เข้ามาทดแทนรถเก่า ที่จะปลดระวาง ซึ่งไม่ได้ทำให้จำนวนรถเมล์เพิ่มขึ้นตามที่กังวล
นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน (รถร่วม ขสมก.) เปิดเผยว่า รถร่วมขสมก.ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก หลังรัฐบาลไม่ได้ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารมา 10 ปี ทั้งที่ขณะนี้ต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มเป็นวันละ300 บาทแล้วเบื้องต้นต้องการให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ย ต่ำ 500 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการนำมาเสริมสภาพคล่อง ซ่อมแซมรถให้บริการต่อได้ รวมทั้งเสนอขอขึ้นค่าโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย รถสองแถว ขอปรับจากคนละ 7 บาท เป็น 10 บาท รถโดยสารธรรมดา ปรับจาก 8 บาท เป็น 10 บาท และรถโดยสารปรับอากาศ ปรับจากค่าโดยสารตามระยะทาง 12-24 บาท เป็น 14-26 บาท
“ขณะนี้ค่า โดยสารที่เก็บเป็นราคาที่ต่ำกว่าทุน เช่น รถร้อนต้นทุนอยู่ที่ 9.60 บาท แต่เก็บค่าโดยสารเพียง 8 บาท ซึ่งถูกที่สุดในโลก ทำให้ผู้ประกอบการรถร่วม 30% จากทั้งหมด 3,800 คัน ต้องหยุดวิ่งไปแล้ว เพราะทนภาระขาดทุนไม่ไหว หากสิ้นปีนี้ไม่ได้รับอนุมัติให้รถร่วมขสมก.ปรับขึ้นราคา รถร่วมคงจำเป็นต้องหยุดวิ่งในบางเส้นทาง”
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: รถร่วมทวงขอขึ้นค่าโดยสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น