ในตอนแรก AEPD ของสเปนก็มีคำสั่งให้กูเกิลลบลิงก์เว็บไซต์ดังกล่าวออกจากผลการสืบค้นเสีย แต่ในส่วนของข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต้นตอของหนังสือพิมพ์ข่าวนั้นยังคง อยู่เหมือนเดิม เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเรื่องเป็นเสียอย่างนี้แล้ว แน่นอนครับว่าเว็บไซต์สืบค้นสัญชาติอเมริกันที่เน้นความอิสระเสรีของข้อมูล อย่างกูเกิลมีหรือจะยอมง่าย ๆ โดยกูเกิลได้ทำการฟ้องเพิกถอนคำสั่งของ AEPD ต่อศาลยุติ
ธรรมแห่งสหภาพยุโรป โดยให้เหตุผลแย้งว่ามนุษย์เราทุกคนมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลได้เช่นเดียวกัน
ท้าย ที่สุดแล้วในปี ค.ศ. 2014 นี้เอง ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปได้อ้างบทบัญญัติในกฎหมายสิทธิมนุษยชนของยุโรป เรื่องสิทธิในการถูกลืม ซึ่งได้ถูกเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 ใจความสำคัญว่า “ข้อมูลเก่า ข้อมูลที่ผิดพลาด หรือ ข้อมูลที่ไม่จำเป็น สมควรที่จะถูกลบออกจากระบบการค้นหาหากบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ” อ้างอิงจากแนวทางนี้ศาลจึงมีคำสั่งให้กูเกิลลบลิงก์การค้นหาที่ไปเจอข้อมูล หนี้สินของหนุ่มสเปนคนนี้ออกเสียจากผลการสืบค้น ถือเป็นชัยชนะของกลุ่มคนที่อยากปกปิดพฤติกรรมในอดีตของตนในยุโรปให้รอดพ้น จากระบบค้นหาออนไลน์ที่มีหูตาอย่างกับสับปะรดอย่างกูเกิลเลยล่ะครับ
ยิ่ง เทคโนโลยีวิ่งเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมันเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากเท่าไหร่ คนที่ต้องวิ่งไล่กวดเทคโนโลยีให้ทันก็ไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มคนในวิชาชีพสาขา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวแล้วนะครับ แต่ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจการค้า นักการธนาคาร ไม่เว้นแม้แต่ศาลสถิตยุติธรรมเอง ก็จำต้องออกแรงวิ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากับขนบ ปฏิบัติหรือกฎหมายข้อบังคับที่อาจล้าหลัง ไม่ทันต่อพลวัตของเทคโนโลยีและสังคมโลกที่เปลี่ยนไป
เพราะในท้ายที่ สุดแล้วกฎหมายหรือข้อบังคับใดที่ฝืนเหตุและผล ดึงดันยืนกรานที่จะต่อต้านพลวัตของโลก ก็รังแต่จะต้องล้มหายตายจากไป หรือ แม้มีอยู่แต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริงก็เท่านั้นเองเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเข้าร่วมงานประชุมวิชาการที่ประเทศสเปนครับ พูดถึงสเปนแล้วคุณผู้อ่านหลายคนอาจจะนึกถึงแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังก้องโลก อย่างซาร่า ฟุตบอลลาลีกาสเปน หรือ ประเพณีวิ่งวัวกระทิง แต่ถ้าพูดถึงในมิติด้านเทคโนโลยี สเปนถือเป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสื่อสารที่ดี เยี่ยมเลยล่ะครับ ผมเดินไปย่านต่าง ๆ เห็นป้าย 4G เต็มไปหมด ไปนั่งร้านอาหารในเมืองไหนก็มีสัญญาณไวไฟให้ต่อ แถมยังมีแบรนด์อีคอมเมิร์ซอย่างบริษัทพลิวาเรีย (Privalia) ที่ใช้เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์ ในการสร้างเม็ดเงินหลักหมื่นล้านบาทได้ภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี หรืออย่างบริษัทเทเลโฟนิก้า (Telefonica)บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมของสเปนก็มีขนาดใหญ่ถึงขนาดได้รับการจัด อันดับให้เป็นที่หกของโลกเลยทีเดียว
วันนี้ผมมีเรื่องเล่าน่าสนใจ เกี่ยวกับประเทศสเปนที่อาจเปลี่ยนโฉมการค้าขายและการสืบค้นในโลกออนไลน์ไป ทั่วทั้งยุโรปเลยล่ะครับ เรื่องนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน หนุ่มชาวสเปนรายหนึ่งได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคลของสเปน (AEPD) ว่าเขาได้ลองนำชื่อของตนเองไปค้นในเว็บไซต์กูเกิล ผลการสืบค้นปรากฏลิงก์เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของเขาเพื่อชำระหนี้ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ว่าง่าย ๆ ก็คือ หนุ่มคนนี้เขาไม่พอใจครับ ที่เวลาผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว แต่ข้อมูลครั้งอดีตสมัยเป็นหนี้สินของเขายังอุตส่าห์ถูกกูเกิลขุดคุ้ยเจอได้ ทำให้ใครต่อใครก็สามารถเอาชื่อของเขามาสืบค้นเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าตัวไม่ ต้องการเปิดเผยต่อสาธารณะได้อย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้วคลิกอย่างนี้
ประเด็น นี้ถือว่าน่าสนใจมากครับ เพราะในยุคแห่งโลกเสรีนี้ที่รัฐธรรมนูญประเทศต่าง ๆ ต่างก็มุ่งแต่เรื่องของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (Right to Know) ได้อย่างอิสระ อยู่ ๆ ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่าเราควรจะมีสิทธิในการถูกลืม (Right to be Forgotten) เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างที่หนุ่มสเปนคนนี้ร้องขอมาด้วยหรือไม่
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น