นายสมาน ยังบอกด้วยว่า หลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ เป็นหลักสูตรที่คิดค้นรวบรวมความรู้ด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมถึงทักษะต่างๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่ออบรมอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ในระดับชุมชน โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลตัวเองในระยะวิกฤติ หรือมีความฉุกเฉินทางการแพทย์ และเน้นความถูกต้องรวดเร็วในการลำเลียงขนย้ายผู้เจ็บป่วยมากกว่าการรักษา เบื้องต้นในจุดเกิดเหตุ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับที่สูงกว่าได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการในการคัดแยกผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในกรณีเกิดสาธารณภัยได้
หลักสูตรดังกล่าวใช้เวลาในการอบรมภาคทฤษฎีและฝึกภาคปฏิบัติจริงในพื้นที่รวม 24 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาในการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และต้องผ่านการประเมินทั้งเรื่องของทฤษฎีความรู้ต่างๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และผ่านเกณฑ์การฝึกภาคปฏิบัติทุกทักษะการเรียนรู้ตลอดการฝึกเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมปรากฏว่า ผลตอบรับต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการวิธีการให้ความช่วยเหลือประชาชนในภาวะ สถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น ทำให้มีความคล่องตัว ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่าเวลาเกิดเหตุจริงจะทำอย่างไรก่อนหลัง ซึ่งทุกอย่างต้องทำแข่งกับเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเป็นความเป็นความตายของผู้ประสบเหตุ จะต้องไม่ประมาทและทำงานเป็นทีม รวมถึงจะต้องมีใจรักที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นภายหลังมีผู้บาดเจ็บ หรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีการช่วยเหลือเป็นส่วนสำคัญในการลดการสูญเสียหรือภาวะพิการของผู้บาด เจ็บ ทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จึงมีนโยบายพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครมูลนิธิช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ประจำปี 2557 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ในการฝึกอบรมโครงการอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉิน (First Responder) และการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอย่างมืออาชีพ โดยมีคณะแพทย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาลหัว เฉียว มาให้ความรู้เพิ่มทักษะในการปฏิบัติหน้าที่
นายสมาน โอภาสวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ระบุว่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ เป็นหนึ่งในนโยบายที่มูลนิธิให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือสังคม โดยทางมูลนิธิได้เริ่มเปิดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมาและทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด เพราะการเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤติทางสุขภาพ ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการที่ถูกต้องในเวลา ที่รวดเร็ว อาจทำให้เกิดการสูญเสียหรือก่อให้เกิดความพิการ ดังนั้น การดูแลเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด
แหล่งที่มา : คมชัดลึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น