ประเด็นแรก ที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงคือ การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูเหมือนจะเหวี่ยงแหไปเรื่อย เริ่มจากการตั้งธงผู้ต้องสงสัยหันไปทางกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาร์ พร้อมกับคำกล่าวของนายตำรวจระดับหัวหน้าที่เปรยว่า "คนไทยไม่ทำเรื่องนี้" ซึ่งสะท้อนถึงอคติทางด้านเชื้อชาติที่ฝังลึกมานาน และขุดรากถอนโคนออกไปไม่ได้ง่าย ๆ แต่หลังจากผลดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัยกลุ่มแรกไม่ปรากฏผลใด ๆ ตำรวจจึงเบนเข็มไปที่คนนอกบริษัทกล้องวงจรปิด ซึ่งก็คือนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษอีกคนที่เช่าห้องพักร่วมกับนายมิลเลอร์ ซึ่งผลวิเคราะห์เปรียบเทียบดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัยกับก้นบุหรี่ที่พบในที่ เกิดเหตุก็ไม่ตรงกันอีก
ตัวละครใหม่ที่โผล่มาคือ นายฌอน แมคแอนนา ชาวสกอตติช วัย 25 ปี เพื่อนของผู้ตาย ที่อ้างว่าเห็นชายไทย 2 คน พยายามเข้ามาเกาะแกะ น.ส.วิทเธอริดจ์ ก่อนจะถูกเธอปฏิเสธไป ในคืนเดียวกับที่เธอเสียชีวิต ซึ่งนายแมคแอนนา ได้ถ่ายภาพของชายทั้งคู่ไว้ ก่อนโพสต์ลงอินเตอร์เน็ต แต่สิ่งที่ตามมาคือ เขาถูกขู่ฆ่าจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จนต้องหนีหัวซุกหัวซุน ขณะที่ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน ในภาพได้รับการปล่อยตัวไป หลังการสอบสวนเบื้องต้น แม้พวกเขาปฏิเสธที่จะให้ตัวอย่างดีเอ็นเอก็ตาม โดยนายกวาลญาให้ความเห็นว่า ปัญหาของเจ้าหน้าที่ คือการต้องเผชิญแรงกดดันมากมาย จากการเกาะติดสถานการณ์รายงานข่าว ทั้งสื่อไทยและสื่อนอก ที่ทวงถามหาความคืบหน้าของคดีตลอดเวลา
ไทม์ รายงานอีกว่า ภาพลักษณ์ของประเทศไทย คือสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนปีละไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน ซึ่งต่างก็เพลิดเพลินไปกับหาดทรายขาวบริสุทธิ์ วัดวาอารามที่สวยงามโอ่อ่า และอาหารไทยรสเลิศ นักท่องเที่ยวส่วนมากมีโอกาสหรรษาไปกับวันหยุดพักผ่อนของพวกเขา แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน ในอีกมุมหนึ่งของบรรดาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พัทยา นักท่องเที่ยวกลับต้องเผชิญกับการลักวิ่งชิงปล้น การทำร้ายร่างกายด้วยมีดและปืน การคุกคามทางเพศ อุบัติเหตุรุนแรงบนท้องถนน และการจมน้ำ ซึ่งมักเป็นเรื่องที่เงียบหายไป โดยเฉพาะฟุลมูนปาร์ตีบนเกาะพงันที่มีชื่อเสียงระดับโลก
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: ไทม์ชี้ด้านมืดคดีฆ่านักเที่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น