ทั้งนี้ ข้อแนะนำสำหรับประเทศไทยจะต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1. การออกกฎหมายที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้กฎหมายสัตว์ป่า เพื่อให้สามารถควบคุมการค้างาช้างในประเทศและการครอบครองงาช้างได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และให้มีบทกำหนดโทษที่เข้มงวดกับผู้ที่ครอบครองงาช้างโดยผิดกฎหมายหรือค้างา ช้างในประเทศอย่างผิดกฎหมาย
2. การออกกฎหมายที่กำหนดให้มีระบบการจดทะเบียนงาช้างในประเทศ อย่างครบวงจร รวมถึงกำหนดให้มีระบบการจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้กับผู้ค้างาช้างที่มี ประสิทธิภาพ และการบังคับใช้กฎหมายและบทกำหนดโทษในกรณีของการกระทำผิดกฎหมาย
3. การเพิ่มความพยายามในการติดตามและควบคุมผู้ค้างาช้างและข้อมูลงาช้าง เพื่อบังคับใช้กฎหมายต่อการค้างาช้างที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกำหนดตัวชี้วัดของการดำเนินการด้วย
ขณะ ที่ ประเทศไทยต้องปรับปรุงแผนปฏิบัติการงาช้างของชาติ (National Ivory Action Plan) เพื่อยื่นต่อเลขาธิการอนุสัญญาไซเตสภายในวันที่ 30 กันยายนนี้ จากนั้นต้องยื่นรายงานความก้าวหน้า ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 15 มกราคม 2558 และครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ซึ่งหากผลการประเมิน ยังไม่เป็นที่พอใจไทยอาจถูกมาตรการลงโทษทางการค้าได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามาตรการสูงที่สุดที่ประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสเคยถูกลงโทษ คือ การคว่ำบาตรการค้าเชิงพาณิชย์ของสินค้าทุกประเภทที่อยู่ในความควบคุมของอนุสัญญาไซเตส และจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศ อีกทั้ง ไทยจะสามารถค้างาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้างได้ แต่จำกัดเฉพาะการค้าในประเทศสำหรับงาช้างและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากช้างบ้านที่ ถูกกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำเข้าหรือส่งออกงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการอนุญาต อย่างถูกต้อง รวมทั้งห้ามการค้างาช้างป่าหรืองาช้างแอฟริกาโดยเด็ดขาด
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: ไซเตสขีดเส้นตายภายใน 30 ก.ย. เร่งไทยยื่นแผนคุมค้างาช้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น