ทั้งนี้ สคบ. จะมีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 เพื่อให้มีการแสดงข้อมูลของสินค้าอย่างชัดเจน ทันต่อสถานการณ์ และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมายดัง กล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากสินค้าเป็นมาตรการของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้าน การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โดย สคบ. จะเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้า ต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ที่สำคัญไว้บน “ฉลากสินค้า” เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่ผู้บริโภคประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า สคบ. ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้นำเข้าเพื่อขาย ต้องจัดทำฉลากสินค้า โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อประเภทสินค้าชื่อผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้า สถานประกอบการ วันเดือนปีที่ผลิต กรณีนำเข้าต้องระบุประเทศที่ผลิต ขนาดของสินค้า วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน และราคาสินค้าไว้บนฉลากหรือภาชนะหีบห่อที่บรรจุ รวมถึงเอกสารแผ่นพับต่าง ๆ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุก
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: กฎหมายด้านฉลากสินค้า’กับการคุ้มครองผู้บริโภค-ไขปัญหาผู้บริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น