พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวอีกว่า ขณะที่มาตรา 5 กำหนดให้ ทุก 5 ปี นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ให้ส.ส. ส.ว. ครม. ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ 1 คน เป็น “คณะผู้ทรงคุณวุฒิอิสระ” มาร่วมทำหน้าที่ประเมินผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และสามารถเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมได้หากเห็นว่าสมควร นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณารายมาตราส่วนที่แขวนไว้ ในมาตรา 196 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการคงหลักการไว้ตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 และมีการเพิ่มเติมในส่วนของการขยายความหมายของหนังสือ สัญญาที่กระทบต่อความมั่นคง พร้อมกับกำหนดให้ ครม.ต้องส่งกรอบการเจรจาที่มีเนื้อหาจะนำไปสู่การทำหนังสือสัญญาให้ กมธ.การต่างประเทศ รัฐสภา พิจารณาภายใน 60 วัน เพื่อให้ความเห็นชอบด้วย
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า มาตรา 2 การแก้ไขเพิ่มเติมทั่วไป ในภาค 1 พระมหากษัตริย์และประชาชน และการแก้ไขเพิ่มเติม "หลักการพื้นฐานสำคัญ" 5 ด้าน ที่ครอบคลุมในส่วนของโครงสร้างสถาบันการเมืองที่มีสองสภา องค์ประกอบของแต่ละสภา การตรวจสอบระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ สาระสำคัญในภาค 3 หลักนิติธรรมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สาระสำคัญใน ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัตินี้ ต้องดำเนินการผ่านการทำประชามติ โดยใช้เสียงข้างมากของประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขยายสิทธิเสรีภาพ หรือการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือเพิ่มประสิทธิภาพของศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่ตรวจสอบ อำนาจรัฐ ไม่ถือเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญ ให้ใช้กระบวนการแก้ไขไปตามปกติ ไม่ต้องทำประชามติ เว้นแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความว่า เป็นการแก้ไขเพิ่มหลักการพื้นฐานสำคัญ ก็ต้องไปผ่านการทำประชามติ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนกระบวนการแก้ไขได้กำหนดไว้ในมาตรา 3 ตั้งแต่การให้อำนาจ ครม. หรือส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 หรือ ส.ส.ร่วมกับ ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือประชาชนเข้าชื่อกันจำนวน 50,000 รายชื่อ สามารถเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยให้รัฐสภาทำหน้าที่พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 วาระ โดยการลงคะแนนออกเสียงวาระแรกรับหลักการ ให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผย ใช้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ ส่วนการพิจารณาในวาระ 3 ก็ต้องใช้วิธีการลงคะแนนโดยเปิดเผย และใช้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า 2 ใน 3เมื่อวันที่ 27 ก.พ. เวลา 15.30 น. ที่พัทยา จ.ชลบุรี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงความคืบหน้าในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรา ว่า ขณะนี้การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในขั้นต้นครบทุกมาตราแล้ว เหลือเพียงบทเฉพาะกาล และส่วนที่รอการพิจารณาอีก 5-6 ประเด็น ซึ่งล่าสุดที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบบทสุดท้าย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.แก้ไขไม่ได้ 2.แก้ไขโดยกระบวนการรัฐสภา 3.แก้ไขโดยกระบวนการรัฐสภาและต้องทำประชามติ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่แบ่งออกเป็น 4 ภาค มีจุดมุ่งหมายให้คงเนื้อหาหลักของแต่ละภาคเอาไว้ โดยในบทสุดท้ายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมด 5 มาตรา เริ่มจาก มาตรา 1 ระบุว่า การขอแก้ไขให้มีผลเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำไม่ได้
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: กมธ.ยกร่างฯคุมเข้มแก้รธน.ยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น