แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บนเนื้อที่ 96 ไร่กำลังจะได้ข้อสรุปร่วมกับบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมเนจเม้นท์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด กล้องcctv คู่สัญญาบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ธุรกิจในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี หลังจากที่ผ่านมาโครงการนี้ไม่สามารถก่อสร้างได้ เพราะติดปัญหาข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครควบคุมความสูงให้สร้างอาคารไม่เกิน 23 เมตร ล่าสุดกรมอยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาเดิมเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
"ที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับ กทม.ไปแล้วแต่ผ่านมา 2 ปียังไม่มีข้อสรุปว่าจะปลดล็อกเรื่องความสูงให้ได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากสภา กทม.ก่อน ไม่รู้ว่าจะอนุมัติให้ได้เมื่อไหร่ แต่เพราะเป็นโครงการเร่งด่วนกรมกับบริษัทจึงหารือร่วมกันว่าจะพัฒนาภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ เพราะล่าช้ามานานหลายปีแล้ว"
รื้อมูลค่า-รูปแบบโครงการ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โครงการนี้ทางบริษัทเอกชนได้ปรับแผนการพัฒนาพื้นที่และมูลค่าโครงการใหม่ จากเดิมจะพัฒนาเป็นโรงแรมสูง 23 ชั้น 450 ห้อง พื้นที่พาณิชย์ 28,000 ตารางเมตร และพื้นที่จอดรถ 3,000 คัน มูลค่าก่อสร้างประมาณ 2,732 ล้านบาท โดยเสนอให้ผลตอบแทนกรมประมาณ 3,000 ล้านบาท
สำหรับรูปแบบใหม่บริษัทเสนอจะพัฒนาพื้นที่พาณิชย์มากขึ้น หรือไม่น้อยกว่า 1 แสนตารางเมตร เช่น พื้นที่แสดงสินค้าและจัดนิทรรศการ เพื่อให้รองรับการจัดงานใหญ่ ๆ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับอิมแพ็คได้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนมากขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท
"เมื่อขึ้นตึกสูงไม่ได้ก็จะต้องเปลี่ยนประเภทการพัฒนาโดยขยายพื้นที่เดิมเพิ่มขึ้น ส่วนโรงแรมยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีหรือไม่เพราะมีข้อจำกัดถูกคุมความสูง"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า บริษัทยังเสนอขอขยายเวลาเช่าเพิ่มขึ้น จากเดิม 25 ปี เป็น 50 ปี เนื่องจากต้องลงทุนก่อสร้างเพิ่ม พร้อมกับให้ผลตอบแทนกรมเพิ่มเช่นกัน โดยตลอดสัญญา 50 ปีกรมคาดว่าจะมีรายได้ 5,100 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) เงื่อนไขจะได้รับค่าธรรมเนียมจัดหาประโยชน์ที่ดินก้อนแรก 500 ล้านบาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดละ 250 ล้านบาท
ปลายปีนี้ชง ครม.ใหม่อนุมัติ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตามระเบียบของกรมธนารักษ์ที่เปิดให้เอกชนมาเช่าที่ราชพัสดุเพื่อจัดหาประโยชน์ได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี ถ้าเกินกว่าที่กำหนดในระเบียบจะต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยข้อเสนอนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และ พ.ร.บ.การอุตสาหกรรมและพาณิชย์ อยู่ระหว่างเสนออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา เมื่อผ่านการพิจารณาคาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้
"กรมพยายามทำให้โครงการนี้แจ้งเกิดเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเดินหน้าไปได้ด้วย เพราะจากที่ศึกษามาโครงการประเภทนี้จากต่างประเทศ รัฐจะต้องซัพพอร์ตเพราะรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านโรงแรมร้านอาหาร สัมมนา การแสดงนิทรรศการต่าง ๆ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ทั้งนี้ ในรูปแบบเดิมที่บริษัทเคยออกแบบไว้ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่เรื่องความสูง จะพัฒนาบนพื้นที่ 96 ไร่ แยกเป็นปรับปรุงของเก่าในพื้นที่ 53 ไร่ และขยายเฟสสร้างใหม่ด้านหลังอีก 46 ไร่ โดยส่วนขยายเฟสใหม่จะไม่มีโรงแรมแต่สร้างอาคาร 2 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 100,000 ตารางเมตร สำหรับเป็นศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ห้องจัดเลี้ยง นิทรรศการ เป็นต้น พื้นที่จอดรถใต้อาคาร 78,000 ตารางเมตร หรือจอดรถได้ 2,246 คัน วงเงินลงทุนเกิน 5,000 ล้านบาท
กทม.ไร้คำตอบปลดล็อกความสูง
แหล่งข่าวจากสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าสำนักผังเมือง กทม.ได้เสนอร่างปรับปรุงข้อบัญญัติเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในบริเวณสวนเบญจกิติและบริเวณโดยรอบในพื้นที่เขตคลองเตย ลุมพินี และปทุมวัน หลังออกบังคับใช้เมื่อปี 2547 ห้ามสร้างตึกสูงเกิน 23 เมตร โดยเสนอให้สภา กทม.พิจารณาตั้งแต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบันวาระประชุมในเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาแต่อย่างใด จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าบังคับใช้ได้เมื่อไหร่
"ตามข้อบัญญัติฉบับใหม่ สำนักผังเมืองเสนอให้ยกเลิกการควบคุมความสูงทั้งหมดในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากพิจารณาของสภาพแวดล้อม ข้อเท็จจริง และความเหมาะสมแล้วพบว่าพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมาก มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน โดยสำนักผังเมืองจะส่งเสริมให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมในอนาคต แต่ทั้งนี้อยู่ที่การพิจารณาของสภา กทม.และผู้บริหารว่าจะมีการรับนโยบายดังกล่าวหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว
อ้างอิง:prachachat.net
Source: ธนารักษ์ลุยศูนย์ประชุมสิริกิติ์เฟส2รื้อสัญญาเช่า50ปีเปิดทาง"เสี่ยเจริญ"ผุดพท.แสนตร.ม.ชนอิมแพ็ค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น