รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. คณะทำงานดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูป ได้มีการประชุมกัน ขณะนี้ได้รายชื่อผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่จะเชิญมาแล้วจำนวน 3 – 4 คน มาจากฝรั่งเศสและเยอรมัน โดยจะให้มาประมาณเดือน พ.ค. 58 ใช้วิธีทยอยกันมา ไม่ได้มาพร้อมกันทีเดียว ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานเรื่องรายละเอียดอยู่
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ก่อนหน้านี้ตนได้ให้สเปกในการหาไปว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นนักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย นักประวัติศาสตร์ เพราะเราต้องการให้พูดเรื่องเขา ไม่ต้องการให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญไทยหรือการเมืองไทย จะให้มาเล่าประสบการณ์ของประเทศเขาที่มีอะไรคล้ายกับเรา ยืนยันว่าไม่ได้เอามาเพื่อสร้างความชอบธรรม แต่เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้รายงานเรื่องนี้ให้นายกฯ ทราบแล้ว ซึ่งนายกฯ เองต้องการเร่งให้ผู้เชี่ยวชาญมาเร็วๆ แต่ได้บอกไปว่า ต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของเขาด้วย.
ทั้งนี้ สำหรับการขอแปรญัตติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีการมอบให้กระทรวงต่างๆ ไปศึกษาร่างรัฐธรรมนูญและส่งข้อเสนอแนะมา ขณะนี้มีทยอยมาบ้างแล้ว
ส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หากมีจุดที่ร่วมกับ ครม.ได้จะมาผนึกกำลังกันในขอยื่นแปรญัตติ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนัก นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับข้อสังเกตว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายมาตราเกินไปนั้น บางประเทศมีวิธีเขียน ยกตัวอย่างประเทศอินเดียรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาเยอะ แต่จำนวนมาตราไม่มาก เพียงแต่ 1 มาตรามีจำนวน 5 หน้า ดังนั้น จะเอาจำนวนตัวเลขมาตรามาชี้วัดไม่ได้ สำหรับ 315 มาตราเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 50 ถือว่ามาก แต่ตนไม่ติดใจตัวเลข จะติดใจตรงเนื้อหามันแน่นมากเกินไป ดูแล้วน่าจะเอาออกสัก 20 – 30 มาตรา ส่วนที่สองพรรคการเมืองใหญ่ยอมให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ เพื่อขอให้มีการประชามติ เพราะรอได้นั้น ตนไม่มีความเห็น เอาเป็นว่าในชั้นนี้รับทราบก่อนแล้วกัน จะไปขานรับอย่างอื่นเดี๋ยวจะหาว่าพร้อมใจจะเลื่อน เพราะพอเลื่อนเข้าจริงเขาก็ด่าอีกเมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 24 เม.ย. 58 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่ออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระหว่างวันที่ 20 - 26 เม.ย. ว่า การอภิปรายครั้งนี้เป็นเพียงการพูด หากอภิปรายอย่างเดียว แต่ไม่ไปยื่นขอแปรญัตติจะไม่มีความหมายอะไร โดยจะมีการเปิดให้ยื่นขอแปรญัตติตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.เป็นต้นไป ซึ่งการยื่นขอแปรญัตติ ให้บอกเพียงว่าไม่เห็นด้วยกับมาตราใด ทาง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะกลับไปพิจารณาว่าจะแก้ให้หรือไม่ ส่วนวิธีแก้เผ็ดของสมาชิก สปช. หาก กมธ.ยกร่างฯ ไม่ยอมแก้ให้ จะไปแก้แค้นกันตอนลงมติว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เห็น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่าหากไม่รับจะเหมือนตายตกไปตามกัน
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น