วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ยานเคปเลอร์ของนาซาตามล่าดาวเคราะห์คล้ายโลก

930091ทีมนักวิจัยเผยว่า 438บี ซึ่งเป็นดาวดวงล่าสุดที่เคปเลอร์พบ มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุด โดยมันมีขนาดใหญ่กว่าโลกราวร้อยละ 12 และมีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน คาดว่ามันได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลกของเราเพียงร้อยละ 40 ซึ่ง ดร.ดัก คาลล์เวลล์ จากสถาบันเซติในแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า หากเรายืนอยู่บนพื้นผิวของ ดาว 483บี มันอาจจะอบอุ่นกว่าบนโลกเพียงเล็กน้อย และมันยังโคจรรอบคาวแคระแดง หรือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิต่ำกว่าดาวฤกษ์ประเภทอื่น ซึ่งจะทำให้ท้องฟ้าของ ดาว 438บี มีสีออกแดงกว่าท้องฟ้าของเรา การส่งนักบินอวกาศไปสำรวจยังคงเป็นเรื่องที่ห่างไกล เนื่องจากมันอยู่ห่างออกไปราว 475 ปีแสง และไม่สามารถระบุได้ว่ามันมวลของมันคืออะไร

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติ "คล้ายโลก" ยังคงคลุมเครือ เนื่องจากขอบเขตของ "เขตอาศัยได้" ขึ้นอยู่กับการคำนวณแบบคร่าวๆ ของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งยากที่จะบรรยายโดยละเอียดได้ โดย ดร.คาลด์เวลล์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบของเคปเลอร์และวิธีอื่นๆ ที่เราใช้ เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยปลาหรือพื้นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยป่าบนดาวดวงนั้น หรือไม่ ทั้งหมดที่เรารู้ก็แค่ขนาดของมันและปริมาณพลังงานที่มันได้รับจากดาวหลัก เท่านั้น

สำนักข่าวบีบีซี ประเทศอังกฤษ รายงานเมื่อวันที่ 7 ม.ค. ว่า การประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกัน ครั้งที่ 225 ประจำปี 2558 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตันของสหรัฐ ระหว่างวันที่ 4 - 8 ม.ค. เผยผลการค้นพบล่าสุดของยานสำรวจอวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่ตั้งชื่อตามโยฮันเนส เคปเลอร์ นักดาราศาสตร์คนสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2552 เพื่อสังเกตการณ์ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะอื่นๆ

ตลอดการเดินทางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีดาวเคราะห์ 8 ดวงที่น่าสนใจที่สุด ถูกเลือกจากดาวเคราะห์นอกระบบนับพันดวง ให้เข้ามาอยู่ในทำเนียบของเคปเลอร์ ได้แก่ เคปเลอร์-296อี เคปเลอร์-296เอฟ เคปเลอร์-62อี เคปเลอร์-62เอฟ เคปเลอร์-440บี เคปเลอร์-442บี เคปเลอร์-186เอฟ และเคปเลอร์-438บี

ในจำนวนนี้มีเพียง 3 ดวงที่มีตำแหน่งอยู่ในจุดที่เรียกว่า "เขตอยู่อาศัยได้" (human friendly sector หรือ Goldilocks sector) ซึ่งหมายถึงตำแหน่งที่อยู่ห่างจากดาวหลักหรือดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะนั้นๆ มากเพียงพอที่อุณภูมิอบอุ่นจนทำให้น้ำบนดาวคงสภาพของเหลวได้ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่อยู่ไกลเกินไปจนอุณภูมิติดลบทำให้ทุกอย่างกลายเป็นน้ำ แข็ง ซึ่งสันนิษฐานว่าในสภาพเช่นนี้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับโลก และมีเพียง 2 ใน 3 ดวงนี้ ที่มีลักษณะพื้นผิวขรุขระคล้ายโลก

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Origin: ยานเคปเลอร์ของนาซาตามล่าดาวเคราะห์คล้ายโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น