ด้านนายรัตนชัย นามวงศ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดทะเล เพื่อการขนส่งถ่านหิน ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม รวมทั้งในภาคตะวันออก สาเหตุที่ประเทศจะต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ใช่เพียงเพราะราคาถูก แต่เพราะก๊าซธรรมชาติจะทยอยหมดลงได้
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ ได้เตรียมระดมทุนผ่านการตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF โดยกองทุนฯนี้จะเข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นระยะเวลา 20 ปี โดย กฟผ.จะขายสิทธิรายได้นี้ให้กองทุน คาดว่าจะได้เงินราว 20,000 ล้านบาท และจะขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนได้ราวปลาย มิ.ย.นี้
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเงินที่ระดมทุนได้จะนำไปลงทุนและลดภาระการลงทุนของภาครัฐ โดยในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า กฟผ.มีแผนต้องใช้เงินลงทุนราว 400,000 ล้านบาท ส่วนอัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยจะได้รับคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 4.7% ทั้งนี้ กองทุน EGATIF จัดสรรหน่วยลงทุนแบบ Small Lot First คือให้ผู้ที่จองซื้อจำนวนน้อยได้สิทธิในการจองซื้อได้ก่อน มีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและ บลจ.กรุงไทย เป็นผู้จัดการกองทุน มีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: กฟผ.ขายกองทุนผลตอบแทน 4.7%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น